วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30น.เวลาเลิกเรียน 14.00 น.
เวลาเข้าสอน 11.30 น.


กิจกรรมวันนี้
    สำหรับวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนประเมินอาจารย์ ชอบหรือไม่ชอบ เพื่อจะนำไปปรับปรุงแก้ไขในการสอนครั้งต่อไปและอาจารย์นับตัวปั๊มให้คะแนนเด็กดี 

รางวัลที่ 3 นางสาวนิตยา ใยคง (18 ตัวปั๊ม)


รางวัลที่ 2 นางสาวพาทินธิดา เฉลิมบุญ( 20 ตัวปั๊ม )


รางวัลที่ 1 นางสาวจิราวรรณ จันทร์หนองหว้า( 21 ตัวปั๊ม )



ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อย รู้สึกตื่นเต้นและดีใจกับเพื่อนๆที่ได้รับรางวัลทุกคน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนแสดงความยินดีโดยการปรบมือ และดีใจกับเพื่อนที่ได้รับรางวัล
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีการพัฒนาตัวเองอยู่สม่ำเสมอเพื่อให้ดีและมีคุณภาพ ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษาทุกคนและนำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อๆไป





วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30น.เวลาเลิกเรียน 14.00 น.
เวลาเข้าสอน 11.30 น.

กิจกรรมวันนี้ 
     สำหรับวันนี้อาจารย์สอนต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเรื่อง เด็กสมาธิสั้น ที่เกียวกับการดูแลและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมาธิสั้น การสื่อสาร การบำบัด และหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ โดยอาจารย์แจกชีลให้นักศึกษาพร้อมเปิดเพาเวอร์พอยด์อธิบายให้นักศึกษาดูไปพพร้อมๆกัน

สรุปเด็กสมาธิสั้นได้ดังนี้



ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อยตั้งใจฟังอาจารย์สอนเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้นว่าการใช้ยาไม่ได้ทำให้เด็กสมาธิสั้นหาย แต่จะทำให้เด็กสมาธิของเด็กสงบนิ่งลงเท่านั้น
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์และให้ความร่วมมือกับการสนทนาโต้ตอบกับอาจารย์
ประเมินอาจารย์
อาจารย์อธิบายไปทีละหัวข้อเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจแต่ละหัวข้ออย่างลึกซึ้ง

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30น.เวลาเลิกเรียน 14.00 น.
เวลาเข้าสอน 11.30 น.

กิจกรรมวันนี้ 
    เนื่องด้วยอาจารย์งดการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาไปจัดเตรียมงาน"ครูปฐมวัย ร่วมใจอนุรักษ์สืบทอดความเป็นไทย" ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาการศึกษาปฐมวัยในรายวิชานาฎศิลป์ จัดขึ้นที่ใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์ โดยอาจารย์ให้สรุปงานที่จัดทำขึ้น ดังนี้

บรรยากาศการซ้อม



กิจกรรมในวันจริง

ระบำตังหวาย

 ระบำสี่ภาค

 ละครสร้างสรรค์ เรื่อง ผ้าเช็ดหน้าวิเศษ

 ระบำดอกบัว

 ระบำจินตลีลา

 ระบำเกาหลี

 ระบำเกี่ยวข้าว


ประเมินตนเอง
รับชมการแสดงของเพื่อนจนจบกิจกรรมพร้อมทำหน้าที่ของตัวเองอย่างดีที่สุด
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนต่างทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่เพื่อที่จะให้กิจกรรมในวันนี้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้งดการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาทุกคนไปทำหน้าที่ให้สำเร็จผล
บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30น.เวลาเลิกเรียน 14.00 น.
เวลาเข้าสอน 11.30 น.

กิจกรรมวันนี้
         อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษโดยอาจารย์แจกชีลให้นักศึกษาพร้อมเปิดเพาเวอร์พอย์ดบรรยายช้าๆอย่างเข้าใจ

1.การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมพัฒนาการ
  • เด็กพัฒนาเต็มตามศักยภาพ จนสามารถช่วยตนเองได้
  • ป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น เตรียมเด็กให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิดแสดงออกอย่างถูกต้องและสามารถประกอบอาชีพได้
  • เพื่อให้บิดามารดามีความรู้ และนำไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์แก่บุตร
  • เพื่อให้บิดามารดามีสัมพันธภาพที่ดีต่อบุตร
เป้าหมายของการส่งเสริมพัฒนาการ
  • เป้าหมายทั่วไป เพื่อให้เด็กมีทักษะที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง สามารถพึ่งตนเองและใช้ชีวิตในสังคมได้
  • เป้าหมายเฉพาะ เพื่อให้พัฒนาขึ้นตามขั้นตอนจากทักษะง่ายไปสู่ทักษะที่ยากขึ้น และแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
ผลที่ได้จากการส่งเสริมพัฒนาการ
  • พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น การอ่าน คณิตศาสตร์และภาษาดีขึ้น
  • สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
  • สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
  • ลดปัญหาพฤติกรรม ลดผลการพิการ
  • คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาและทำงานได้ดีขึ้น
Down's Syndrome

วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
  • ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
  • เน้นการดูแลแบบองค์รวม(Holistic Approach)
แนวทางการดูแลการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพมีดังนี้


การปฏิบัติของบิดา มารดาของเด็ก
  • ยอมรับความจริง
  • เด็กดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอนเช่นดียวกับเด็กทั่วไป
  • ให้ความรักความอบอุ่น
  • การตรวจภายใน ตรวจหามะเร็งปากมดลูก และเต้านม
  • การคุมกำเนิดและทำหมัน
  • การสอนเพศศึกษา
  • ตรวจโรคหัวใจ
Autistic
แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพมีดังนี้



อาชาบำบัดเด็กออทิสติก



สำหรับข้อ 9 การบำบัดทางเลือก

การสื่อสารความหมายทดแทน
(Augmentative and Alternative Communication;AAC)
  • การรับรู้ผ่านการมอง(Visual Strategies)
  • โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร(Picture Exchange  Communication System;PECS)
  • เครื่องโอภา(Communication Devices)
  • โปรแกรมปราศรัย
Picture Exchange Communication System(PECS)




เพิ่มเติม

โอภา รุ่น 2.3 อุปกรณ์ช่วยสื่อสาร แบบพกพา สำหรับผู้ที่บกพร่อง ทางด้านการพูด



        โอภา รุ่น 2.3 เสริมฟังก์ชันพิเศษให้กับผู้ใช้ที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของนิ้วมือได้ หรือ มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนทำให้กดปุ่มสัญรูปบนหน้ากล่องโอภาได้ เพิ่มฟังก์ชัน การสแกนปุ่มโดย มีหน้าปัทม์แสดงตัวเลขบอกการสแกนไปที่ช่องหมายเลข ผู้ใช้สามารถเลือกช่องหมายเลขนั้นๆ โดยการกดสวิตช์เดี่ยวที่พ่วงต่อกับโอภา หรือเลือกใช้รีโมท คอนโทรลในการเลือกหมายเลขช่องสัญรูป ในกรณีที่ผู้ใช้มีการบังคับและควบคุมกล้ามเนื้อได้ กลับสู่เนื้อหาหลัก

คุณสมบัติ
  • สามารถบันทึกเสียง และเล่นเสียงข้อความที่บันทึกไว้
  • สามารถบันทึกได้ 60 ข้อความ ข้อความละ 4 วินาที แบ่งเป็น 4 ระดับ ระดับละ 15 ข้อความ
  • สามารถบันทึกเสียงได้ใหม่ตลอดเวลา
  • สามารถใช้งานร่วมกับสวิตช์ (single switch) ในหน้าที่การทำงานแบบสแกน ในการเล่นเสียงข้อความที่บันทึก
  • สามารถสั่งงานการเล่นเสียงข้อความที่บันทึกผ่านรีโมทได้
  • มีหลอดไฟขนาดเล็กแสดงสถานะการทำงาน
  • สามารถปรับความดังของเสียง และต่อสัญญาณเสียงไปยังเครื่องขยายเสียงภายนอกได้
  • สามารถปรับตัวเองให้อยู่ในระบบประหยัดพลังงานได้ ขณะไม่ได้เล่นจะใช้กระแสไฟ 10 มิลลิแอมป์ ขณะเล่นจะใช้กระแสไฟ 80 มิลลิแอมป์ สามารถเล่นติดต่อกันได้นาน 7.5 ชั่วโมง สามารถเปิดเครื่องรอใช้งานได้นาน 10 ชั่วโมง
  • สามารถใช้ไฟจากแหล่งจ่ายไฟภายนอกผ่านหม้อแปลงไฟขนาด 9 โวลต์
  • สามารถชาร์จแบตเตอรีได้ตลอดเวลา 

วิจัยและพัฒนาโดย


        กลุ่มการประยุกต์เทคโนโลยีการสนับสนุนคนพิการและคนด้อยโอกาส ร่วมกับ ห้องปฏิบัติการระบบควบคุมด้วยสมองกล ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ในโครงการพัฒนาอุปกรณ์ ช่วยสื่อสารขนาดพกพา สำหรับเด็กที่มีปัญหาในเรื่อง การออกเสียง ภายใต้ โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

การนำไปประยุกต์ใช้
นำไปเป็นความรู้ในอนาคตถ้าพบเจอเด็กที่มีความบกพร่องจะได้ให้คำแนะนำกับผู้ปกครองของเด็กได้อย่างถูกวิธี เพื่อที่จะให้เด็กและผู้ปกครองใช้ชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้นและสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้
ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อยและตั้งใจฟังอาจารย์สอนอาจจะคุยบางเล็กน้อย
ประเมินเพื่อน
เพื่อนแต่งกายเรียบร้อยส่วนน้อยที่จะไม่เรียบร้อย เพื่อนตั้งใจฟังและตั้งใจเรียนสามารถตอบคำถามอาจารยืได้
ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย ใจดี พูดจาไพเราะ ใช้คำสุภาพ และมีเทคนิคการสอนไม่น่าเบื่อ สนุกสนานเวลาเรียน

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันนี้ 3 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 14.00น.
เวลาเข้าสอน 11.30


กิจกรรมวันนี้
     สำหรับวันนี้อาจารย์บอกคะแนนสอบกลางภาคและอาจารย์ก็เฉลยข้อสอบ

ค้นคว้าเพิ่มเติม

พ่อแม่ผู้ปกครองจัดกิจกรรมให้ลูกเรียนรู้เกี่ยวกับเรียนร่วมกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างไร ?

        พ่อแม่ ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนร่วมด้วยการรับรู้และให้ความช่วยเหลือในด้านวัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน และการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือ ทั้งนี้ควรมีบทบาทและหน้าที่ในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับลูกเพื่อที่จะให้ลูกยอมรับและสามารถอยู่ร่วมกับเพื่อนที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งพ่อแม่ควรมีบทบาทดังนี้
  • ส่งเสริมให้ลูกได้เล่นและทำงานกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษทั้งเพื่อนที่อยู่ในโรงเรียนและเพื่อนที่อยู่ใกล้บ้าน (ถ้ามี)
  • พ่อแม่ควรสอบถามหรือสนทนากับลูกเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่เป็นเพื่อนกับลูกที่โรงเรียน เพื่อส่งเสริมให้เด็กสร้างปฏิสัมพันธ์กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • ให้การเสริมแรงด้วยวิธีการต่างๆกับลูกเมื่อลูกแสดงพฤติกรรมในเชิงบวกกับเพื่อนที่เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
  • ให้ลูกบรรยายการกระทำความดีของตนเองที่มีต่อเพื่อนที่เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เช่น การช่วยเหลือในการเล่นและการทำงาน การให้ยืมหรือแบ่งปันของเล่น ฯลฯ
  • เปิดโอกาสให้ลูกได้มีความใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนที่เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เช่น การทำงานหรือเล่นร่วมกัน เปิดโอกาสให้เพื่อนที่เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษมาเที่ยวที่บ้าน

วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 27 ตุลาคม 2557
เวลาเรียน 08.30น.เวลาเลิกเรียน 14.00 น.
เวลาเข้าสอน 11.30 น.

กิจกรรมวันนี้
     สำหรับวันนี้ สอบ Mid Team วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อนๆดูตั้งใจสอบกันทุกคน ขอใหห้สอบผ่านกันทุกๆคนน่ะค่ะ

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 20 ตุลาคม 2557
เวลาเรียน 08.30น.เวลาเลิกเรียน 14.00 น.
เวลาเข้าสอน 11.30 น.


กิจกรรมวันนี้
       สำหรับวันนี้อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็กสมาธิสั้นและเด็กพิการซ้อนโดยอาจารย์ได้แจกชีลให้กับนักศึกษาพร้อมเปิดเพาเวอร์พอยด์อธิบายอย่างช้าๆและชัดเจน

1.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

  • มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
  • แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
  • มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
  • เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้
  • เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
  • ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  • ความวิตกกังวล(Anxiety)ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
  • ภาวะซึมเศร้า(Depreeion)มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
  • ปัญหาทางสุขภาพและขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต
   การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ตามกลุ่มอาการพร้อมสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก มีดังนี้



      ส่วนเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
  • เด็กสมาธิสั้น(Children With Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
            
  • เด็กออทิสติก(Autistic)หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)

   สำหรับเด็กสมาธิสั้นมีลักษณะ สาเหตุ และยารักษาโรคที่มีใช้ในประเทศไทย มีดังต่อไปนี้


2.เด็กพิการซ้อน(Children With Multiple Hendicaps)
  • เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
  • เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
  • เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
  • เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด


การนำไปประยุกต์ใช้
    ได้เรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะและกลุ่มอาการของเด็กแต่ละโรคและรู้ถึงวิธีการรักษาจึงทำให้เรามีความรู้ในส่วนนี้ในอนาคตข้างหน้าเราก็นำเอาความรู้ที่ได้จากวิชานี้ไปปรับใช้ให้กับเด็กที่มีกลุ่มอาการต่างๆโดยเป็นการทำความเข้าใจหรือช่วยเหลือเด็กเบื้องต้น
ประเมินตนเอง
แต่งการเรียบร้อยและตั้งใจฟังอาจารย์สอนเพราะอาจารย์มีเทคนิคในการรสอนที่ทำให้ไม่น่าเบื่อในการเรียน
ประเมินเพื่อน
แต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีเทคนิคในการสอนทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ สนุกสนานและเข้าใจเพราะอาจารย์อธิบายพร้อมยกตัวอย่างในแต่ละอาการ