วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30น.เวลาเลิกเรียน 14.00 น.
เวลาเข้าสอน 11.30 น.


กิจกรรมวันนี้
    สำหรับวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนประเมินอาจารย์ ชอบหรือไม่ชอบ เพื่อจะนำไปปรับปรุงแก้ไขในการสอนครั้งต่อไปและอาจารย์นับตัวปั๊มให้คะแนนเด็กดี 

รางวัลที่ 3 นางสาวนิตยา ใยคง (18 ตัวปั๊ม)


รางวัลที่ 2 นางสาวพาทินธิดา เฉลิมบุญ( 20 ตัวปั๊ม )


รางวัลที่ 1 นางสาวจิราวรรณ จันทร์หนองหว้า( 21 ตัวปั๊ม )



ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อย รู้สึกตื่นเต้นและดีใจกับเพื่อนๆที่ได้รับรางวัลทุกคน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนแสดงความยินดีโดยการปรบมือ และดีใจกับเพื่อนที่ได้รับรางวัล
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีการพัฒนาตัวเองอยู่สม่ำเสมอเพื่อให้ดีและมีคุณภาพ ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษาทุกคนและนำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อๆไป





วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30น.เวลาเลิกเรียน 14.00 น.
เวลาเข้าสอน 11.30 น.

กิจกรรมวันนี้ 
     สำหรับวันนี้อาจารย์สอนต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเรื่อง เด็กสมาธิสั้น ที่เกียวกับการดูแลและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมาธิสั้น การสื่อสาร การบำบัด และหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ โดยอาจารย์แจกชีลให้นักศึกษาพร้อมเปิดเพาเวอร์พอยด์อธิบายให้นักศึกษาดูไปพพร้อมๆกัน

สรุปเด็กสมาธิสั้นได้ดังนี้



ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อยตั้งใจฟังอาจารย์สอนเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้นว่าการใช้ยาไม่ได้ทำให้เด็กสมาธิสั้นหาย แต่จะทำให้เด็กสมาธิของเด็กสงบนิ่งลงเท่านั้น
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์และให้ความร่วมมือกับการสนทนาโต้ตอบกับอาจารย์
ประเมินอาจารย์
อาจารย์อธิบายไปทีละหัวข้อเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจแต่ละหัวข้ออย่างลึกซึ้ง

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30น.เวลาเลิกเรียน 14.00 น.
เวลาเข้าสอน 11.30 น.

กิจกรรมวันนี้ 
    เนื่องด้วยอาจารย์งดการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาไปจัดเตรียมงาน"ครูปฐมวัย ร่วมใจอนุรักษ์สืบทอดความเป็นไทย" ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาการศึกษาปฐมวัยในรายวิชานาฎศิลป์ จัดขึ้นที่ใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์ โดยอาจารย์ให้สรุปงานที่จัดทำขึ้น ดังนี้

บรรยากาศการซ้อม



กิจกรรมในวันจริง

ระบำตังหวาย

 ระบำสี่ภาค

 ละครสร้างสรรค์ เรื่อง ผ้าเช็ดหน้าวิเศษ

 ระบำดอกบัว

 ระบำจินตลีลา

 ระบำเกาหลี

 ระบำเกี่ยวข้าว


ประเมินตนเอง
รับชมการแสดงของเพื่อนจนจบกิจกรรมพร้อมทำหน้าที่ของตัวเองอย่างดีที่สุด
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนต่างทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่เพื่อที่จะให้กิจกรรมในวันนี้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้งดการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาทุกคนไปทำหน้าที่ให้สำเร็จผล
บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30น.เวลาเลิกเรียน 14.00 น.
เวลาเข้าสอน 11.30 น.

กิจกรรมวันนี้
         อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษโดยอาจารย์แจกชีลให้นักศึกษาพร้อมเปิดเพาเวอร์พอย์ดบรรยายช้าๆอย่างเข้าใจ

1.การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมพัฒนาการ
  • เด็กพัฒนาเต็มตามศักยภาพ จนสามารถช่วยตนเองได้
  • ป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น เตรียมเด็กให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิดแสดงออกอย่างถูกต้องและสามารถประกอบอาชีพได้
  • เพื่อให้บิดามารดามีความรู้ และนำไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์แก่บุตร
  • เพื่อให้บิดามารดามีสัมพันธภาพที่ดีต่อบุตร
เป้าหมายของการส่งเสริมพัฒนาการ
  • เป้าหมายทั่วไป เพื่อให้เด็กมีทักษะที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง สามารถพึ่งตนเองและใช้ชีวิตในสังคมได้
  • เป้าหมายเฉพาะ เพื่อให้พัฒนาขึ้นตามขั้นตอนจากทักษะง่ายไปสู่ทักษะที่ยากขึ้น และแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
ผลที่ได้จากการส่งเสริมพัฒนาการ
  • พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น การอ่าน คณิตศาสตร์และภาษาดีขึ้น
  • สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
  • สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
  • ลดปัญหาพฤติกรรม ลดผลการพิการ
  • คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาและทำงานได้ดีขึ้น
Down's Syndrome

วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
  • ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
  • เน้นการดูแลแบบองค์รวม(Holistic Approach)
แนวทางการดูแลการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพมีดังนี้


การปฏิบัติของบิดา มารดาของเด็ก
  • ยอมรับความจริง
  • เด็กดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอนเช่นดียวกับเด็กทั่วไป
  • ให้ความรักความอบอุ่น
  • การตรวจภายใน ตรวจหามะเร็งปากมดลูก และเต้านม
  • การคุมกำเนิดและทำหมัน
  • การสอนเพศศึกษา
  • ตรวจโรคหัวใจ
Autistic
แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพมีดังนี้



อาชาบำบัดเด็กออทิสติก



สำหรับข้อ 9 การบำบัดทางเลือก

การสื่อสารความหมายทดแทน
(Augmentative and Alternative Communication;AAC)
  • การรับรู้ผ่านการมอง(Visual Strategies)
  • โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร(Picture Exchange  Communication System;PECS)
  • เครื่องโอภา(Communication Devices)
  • โปรแกรมปราศรัย
Picture Exchange Communication System(PECS)




เพิ่มเติม

โอภา รุ่น 2.3 อุปกรณ์ช่วยสื่อสาร แบบพกพา สำหรับผู้ที่บกพร่อง ทางด้านการพูด



        โอภา รุ่น 2.3 เสริมฟังก์ชันพิเศษให้กับผู้ใช้ที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของนิ้วมือได้ หรือ มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนทำให้กดปุ่มสัญรูปบนหน้ากล่องโอภาได้ เพิ่มฟังก์ชัน การสแกนปุ่มโดย มีหน้าปัทม์แสดงตัวเลขบอกการสแกนไปที่ช่องหมายเลข ผู้ใช้สามารถเลือกช่องหมายเลขนั้นๆ โดยการกดสวิตช์เดี่ยวที่พ่วงต่อกับโอภา หรือเลือกใช้รีโมท คอนโทรลในการเลือกหมายเลขช่องสัญรูป ในกรณีที่ผู้ใช้มีการบังคับและควบคุมกล้ามเนื้อได้ กลับสู่เนื้อหาหลัก

คุณสมบัติ
  • สามารถบันทึกเสียง และเล่นเสียงข้อความที่บันทึกไว้
  • สามารถบันทึกได้ 60 ข้อความ ข้อความละ 4 วินาที แบ่งเป็น 4 ระดับ ระดับละ 15 ข้อความ
  • สามารถบันทึกเสียงได้ใหม่ตลอดเวลา
  • สามารถใช้งานร่วมกับสวิตช์ (single switch) ในหน้าที่การทำงานแบบสแกน ในการเล่นเสียงข้อความที่บันทึก
  • สามารถสั่งงานการเล่นเสียงข้อความที่บันทึกผ่านรีโมทได้
  • มีหลอดไฟขนาดเล็กแสดงสถานะการทำงาน
  • สามารถปรับความดังของเสียง และต่อสัญญาณเสียงไปยังเครื่องขยายเสียงภายนอกได้
  • สามารถปรับตัวเองให้อยู่ในระบบประหยัดพลังงานได้ ขณะไม่ได้เล่นจะใช้กระแสไฟ 10 มิลลิแอมป์ ขณะเล่นจะใช้กระแสไฟ 80 มิลลิแอมป์ สามารถเล่นติดต่อกันได้นาน 7.5 ชั่วโมง สามารถเปิดเครื่องรอใช้งานได้นาน 10 ชั่วโมง
  • สามารถใช้ไฟจากแหล่งจ่ายไฟภายนอกผ่านหม้อแปลงไฟขนาด 9 โวลต์
  • สามารถชาร์จแบตเตอรีได้ตลอดเวลา 

วิจัยและพัฒนาโดย


        กลุ่มการประยุกต์เทคโนโลยีการสนับสนุนคนพิการและคนด้อยโอกาส ร่วมกับ ห้องปฏิบัติการระบบควบคุมด้วยสมองกล ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ในโครงการพัฒนาอุปกรณ์ ช่วยสื่อสารขนาดพกพา สำหรับเด็กที่มีปัญหาในเรื่อง การออกเสียง ภายใต้ โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

การนำไปประยุกต์ใช้
นำไปเป็นความรู้ในอนาคตถ้าพบเจอเด็กที่มีความบกพร่องจะได้ให้คำแนะนำกับผู้ปกครองของเด็กได้อย่างถูกวิธี เพื่อที่จะให้เด็กและผู้ปกครองใช้ชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้นและสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้
ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อยและตั้งใจฟังอาจารย์สอนอาจจะคุยบางเล็กน้อย
ประเมินเพื่อน
เพื่อนแต่งกายเรียบร้อยส่วนน้อยที่จะไม่เรียบร้อย เพื่อนตั้งใจฟังและตั้งใจเรียนสามารถตอบคำถามอาจารยืได้
ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย ใจดี พูดจาไพเราะ ใช้คำสุภาพ และมีเทคนิคการสอนไม่น่าเบื่อ สนุกสนานเวลาเรียน

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทิน
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันนี้ 3 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 14.00น.
เวลาเข้าสอน 11.30


กิจกรรมวันนี้
     สำหรับวันนี้อาจารย์บอกคะแนนสอบกลางภาคและอาจารย์ก็เฉลยข้อสอบ

ค้นคว้าเพิ่มเติม

พ่อแม่ผู้ปกครองจัดกิจกรรมให้ลูกเรียนรู้เกี่ยวกับเรียนร่วมกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างไร ?

        พ่อแม่ ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนร่วมด้วยการรับรู้และให้ความช่วยเหลือในด้านวัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน และการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือ ทั้งนี้ควรมีบทบาทและหน้าที่ในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับลูกเพื่อที่จะให้ลูกยอมรับและสามารถอยู่ร่วมกับเพื่อนที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งพ่อแม่ควรมีบทบาทดังนี้
  • ส่งเสริมให้ลูกได้เล่นและทำงานกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษทั้งเพื่อนที่อยู่ในโรงเรียนและเพื่อนที่อยู่ใกล้บ้าน (ถ้ามี)
  • พ่อแม่ควรสอบถามหรือสนทนากับลูกเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่เป็นเพื่อนกับลูกที่โรงเรียน เพื่อส่งเสริมให้เด็กสร้างปฏิสัมพันธ์กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • ให้การเสริมแรงด้วยวิธีการต่างๆกับลูกเมื่อลูกแสดงพฤติกรรมในเชิงบวกกับเพื่อนที่เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
  • ให้ลูกบรรยายการกระทำความดีของตนเองที่มีต่อเพื่อนที่เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เช่น การช่วยเหลือในการเล่นและการทำงาน การให้ยืมหรือแบ่งปันของเล่น ฯลฯ
  • เปิดโอกาสให้ลูกได้มีความใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนที่เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เช่น การทำงานหรือเล่นร่วมกัน เปิดโอกาสให้เพื่อนที่เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษมาเที่ยวที่บ้าน